วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

วิจัย


สรุปวิจัย

เรื่อง : ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่

สรุปวิจัย : การจัดประสบการณ์ทักษะคณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่เป็นรูปแบบหนึ่งที่ส่งเสริมเด็กปฐมวัยให้เรียนรู้และซึมซับประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยมีจุดมุ่งหมายในการวิจัย
1. เพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่คณิตศาสตร์มีบทบาทอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันของมนุษย์ไม่ว่าจะอยู่ในสังคมใดก็ตาม เด็กหรือผู้ใหญ่อยู่ที่ใดหรือสถานการณ์ใดการติดต่อสื่อสารด้วยข้อมูลหรือการประกอบกิจกรรมประจำวันคณิตศาสตร์จะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราทั้งสิ้น จึงสามารถกล่าวได้ว่าประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของเราเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์และจำเป็นต้องใช้คณิตศาสตร์อยู่เสมอซึ่งการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยนั้น มีความแตกต่างจากการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับอื่น เนื่องจากพัฒนากา รของเด็กปฐมวัยมีความแตกต่างจากเด็กในวัยอื่น ไม่ว่าจะเป็นความเข้าใจหรือความคิดรวบยอดซึ่งพ่อแม่และครูควรตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็ก เพราะนอกจากจะต้องอาศัยสถานการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเพื่อส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์แล้วยังต้องอาศัยการวางแผนและเตรียมการเป็นอย่างดีจากครูโดยเปิดโอกาสให้เด็กได้มีโอกาสค้นคว้า แก้ปัญหา เรียนรู้และพัฒนาความคิดรวบ ยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ความรู้ด้านจำนวน มิติ การเปรียบเทียบ การนับและตัวเลขซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานสำหรับการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับที่สูงขึ้นและเป็นทักษะที่ใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป
      การจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือกลุ่มชีวิตประจำวัน กลุ่มประสาทรับรู้ กลุ่มภาษา และกลุ่มคณิตศาสตร์ในงานวิจัยนี้จะศึกษาเฉพาะกลุ่มคณิตศาสตร์เท่านั้นเพราะสภาพการศึกษากลุ่มสาระคณิตศาสตร์ที่ผ่านมาเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ของโรงเรียนพระแม่มารีมีปญหาการเรียนคณิตศาสตร์อยู่ในระดับต่ำ และยังส่งผลกระทบต่อการศึกษากลุ่มสาระคณิตศาสตร์ในระดับชั้นที่สูงขึ้นต่อไป
     การจัดประสบการณ์การเรียนรู้กลุ่มคณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่เป็นการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่เหมาะกับเด็กที่ช่วยให้เด็กได้เริ่มเรียนรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรมก่อนแล้วจึงนไไปสู่การเรียนรู้สิ่งที่เป็นนามธรรมด้วยการฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ผ่านการปฏิบัติจริง เช่น การหยิบ การจับ สัมผัส สิ่งต่างๆ โดยใช้มือได้เห็นขนาด รูปร่าง รูปทรง น ้าหนัก สี พื้นผิวสัมผัสที่หยาบเรี ยบหรือขรุขระของวัตถุซึ่งจะช่วยให้เด็กมีความเข้าใจอย่างแม่นยำ เด็กสามารถหยิบจับและนับสิ่งของต่างๆ ได้ ดังนั้นการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนคณิตศาสตร์จึงเป็นแนวทางพื้นฐานของการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของมอนเตสซอรี่ การได้เห็นของจริง การสัมผัส การหยิบจับ การดูการชิม หรือการฟัง กระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กมากกว่าการใช้สายตาเพียงอย่างเดียวโดยเฉพาะถ้าสื่ออุปกรณ์นั้นเป็นของจริงเด็กจะเกิดการเรียนรู้อย่างสมบูรณ์ทั้งนี้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่นำไปสู่การคิดคำนวณ บวก ลบ ในระดับที่สูงขึ้นทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่โดยรวมประกอบด้วยด้านการจำแนก ด้านการเรียงลำดับและด้านการนับหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น ทั้งนี้เพราะการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ได้โดยเด็กเรียนรู้การใช้สื่ออุปกรณ์การเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ เด็กเลือกงานด้วยใจอิสระ จะปฏิบัติงานที่มุมใดของห้อง ปฏิบัติงานด้วยจังหวะช้าเร็วของตนเอง เด็กเป็นตัวของตัวเองอิสระและผ่อนคลาย สนุกสนานเพลิดเพลิน มีสมาธิในการปฏิบัติงานและได้ฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทำให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ อรพินท์ เหล่าสุวรรณพงษ์ ที่พบว่าการสอนแนวมอนเตสซอรี่ทำให้ประสาทสัมผัสของเด็กที่มีควาบกพร่องทางสติปัญญาสูงขึ้น เด็กมีระเบียบวินัยมากขึ้น มีสมาธิและความมั่นใจในตัวเองสูงขึ้นด้วยซึ่งสอดคล้องกับ กุลยา ตันติผลาชีวะที่กล่าวว่าคณิตศาสตร์มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนและต้องใช้เสมอเด็กสนใจการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตั้งแต่เล็ก เด็กสามารถประเมินขนาดใหญ่เล็กได้ และสามารถสื่อสารกับเพื่อนและผู้ใหญ่ได้ ดังนั้นคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจึงเป็นความเข้าใจเรื่องจ านวน การปฏิบัติเกี่ยวกับจำนวน หน้าที่และความสัมพันธ์ของจำนวน ความเป็นไปได้และการวัดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ซึ่งเด็กจะเรียนรู้ได้ จากกิจกรรมปฏิบัติการและสอดคล้องกับ สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์ ที่ว่าการจัดประสบการณ์ตามมอนเตสซอรี่เป็นการสอนที่เน้นการเรียนรู้เป็นรายบุคคลเด็กได้ฝึกสัมผัสวัสดุอุปกรณ์ที่เตรียมไว้เป็น
รายบุคคลโดยได้รับคำแนะนำการใช้ก่อนแล้วจากนั้นเด็กเลือกท ากิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเองเป็น การ
ฝึกการคิดริเริ่ม ความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง การลงมือปฏิบัติสื่ออุปกรณ์การเรียนของมอนเตสซอรี่จะเปิดโอกาสให้เด็กฝึกปฏิบัติลองผิด ลองถูก ไม่กลัวผิด กล้าเสี่ยงและเมื่อเด็กทำได้เด็กจะรู้สึกพอใจและภูมิใจในผลงานของตนเอง และเป็นไปตามที่ เฮลฟริช ที่กล่าวว่ากิจกรรมประสาทรับรู้เป็นการเตรียมความพร้อมทางอ้อมสำหรับจิตคณิตศาสตร์ กิจกรรมในกลุ่มประสาทรับรู้เป็นการฝึกฝนตามระบบคำสั่ง ปฏิบัติตามขั้นตอน สังเกต ทดลอง จำแนก ค้นหาความ แตกต่าง การจับคู่ การจัดล าดับ การหาความหลากหลายแล ะเรียนรู้ภาษาของคณิตศาสตร์ อุปกรณ์
หลายชุดในกลุ่มประสาทรับรู้ถูกผลิตขึ้นมาให้มี
 
      ภายในเอกสารวิจัยเล่มนี้ได้มีคู่มือและแบบตัวอย่างแผนการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่ เป็นการจัดกิจกรรมส่งเสริมเด็กปฐมวัยด้านคณิตศาสตร์เรื่องของจำนวน  สัญลักษณ์ที่แสดงค่าจำนวน เป็นต้น
      วิจัยเล่มนี้หากท่านใดสนใจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมโปรดคลิกที่มาด้านล่างได้เลยค่ะ

ที่มา : สนใจศึกษาเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ได้เลยค่ะ